โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งร่างกายของคนเรานั้นจำเป็นต้องมีอินซูลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินซูลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินซูลินในร่างกายหรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ หากน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จะทำให้ไตซึ่งปกติจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคเบาหวาน” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด
ชนิดของโรคเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน
เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะการลดลงของการสร้างอินซูลิน ร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน และมักเป็นกรรมพันธ์ุ
เบาหวานชนิดพิเศษ เช่น เป็นโรคของตับอ่อน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของอินซูลินโดยกำเนิด
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และหายไปได้หลังคลอดบุตร แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
โรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อลักษณะที่ร่างกายใช้อาหารที่ย่อยเป็นพลังงาน อาหารส่วนใหญ่ที่เราบริโภคจะถูกย่อยเป็นกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายต้องการ เพื่อให้น้ำตาลกลูโคสผ่านกระแสเลือดและเข้าสู่เซลล์ของเราซึ่งต้องมีอินซูลินเป็นตัวเชื่อม อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคเบาหวานตับอ่อนจะสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงเล็กน้อยหรือไม่สามารถผลิตได้เลย ซึ่งก็หมายความว่ากลูโคสที่ไม่ได้ใช้จะสะสมอยู่ในเลือดและไหลล้นเข้าไปในปัสสาวะ
เมตฟอร์มิน (Metformin) เป็นหนึ่งในตัวยาแรกที่กำหนดไว้สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการลดการผลิตกลูโคสในตับและปรับความไวของร่างกายต่ออินซูลินเพื่อให้ร่างกายใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยาร์เดียน (Jardiance) เป็นยาเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถลดระดับ A1C และในเวลาเดียวกันก็ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ Ozempic และ Trulicity เป็นการฉีดสัปดาห์ละครั้งเพื่อควบคุมโรคเบาหวานประเภทที่ 2
การรักษาตามประเภทของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานประเภทที่ 1
เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อการนำน้ำตาลเข้าสู่เส้นเลือด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ไปจนตลอดชีวิตการฉีดอินซูลิน ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ชนิดของฮอร์โมนอินซูลินที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานปัจจุบัน
ประเภทออกฤทธิ์เร็ว (Rapid Acting Insulin) เป็นยาออกฤทธิ์สั้น เริ่มออกฤทธิ์หลังการฉีด 15 นาที ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 1 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นาน 2-4 ชั่วโมง เช่น อินซูลิน กลูลิซีน (Insulin Glulisine) อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro) อินซูลิน แอสพาร์ (Insulin Aspart)
ประเภทออกฤทธิ์ในช่วงปกติ (Regular or Short-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์นานขึ้นภายใน 30 นาทีหลังการฉีด ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 2-3 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น 3-6 ชั่วโมง เช่น เรกูลาร์ อินซูลิน (Regular insulin)
ประเภทออกฤทธิ์นานขึ้นในระดับกลาง (Intermediate-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ได้ภายใน 2-4 นาทีหลังการฉีด ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุด 4-12 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นานถึง 12-18 ชั่วโมง เช่น เอ็นพีเอช อินซูลิน (NPH)
ประเภทออกฤทธิ์นาน (Long-acting Insulin) สามารถออกฤทธิ์ในการรักษานานมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ใช้ระยะเวลาการดูดซึมในร่างกายนานหลายชั่วโมง เช่น อินซูลิน ดีทีเมี่ยร์ (Insulin Detemir) หรืออินซูลิน กลาร์จีน (Insulin Glargine)
โรคเบาหวานประเภทที่ 2
การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะใช้ยาที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดโดยการเพิ่มการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินให้ดีขึ้น และเพิ่มการใช้น้ำตาลกลูโคสในร่างกายมากขึ้น เช่น ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) ไบกัวไนด์ (Biguanide), ยาในกลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ยาแอลฟา-กลูโคซิเดส อินฮิบิเตอร์ (Alpha-glucosidase Inhibitor) เป็นต้น นอกจากนี้ในบางรายอาจมีการฉีดอินซูลินในกรณีที่การรับประทานยาไม่ได้ผล
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผู้ป่วยควรเข้ารับการฝากครรภ์และพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ พร้อมทั้งพยายามควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับแม่และทารกในครรภ์ โดยจำเป็นต้องมีการควบคุมอาหารที่รับประทานอย่างเข้มงวด เช่น ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลลง เพิ่มการรับประทานโปรตีน ผักและผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติหวานจัดหรือไขมันสูง เป็นต้น พร้อมทั้งมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนตั้งครรภ์ควบคู่กัน โดยการปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ หากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ผลดีด้วยการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดอินซูลินเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเผชิญกับปัญหาที่เท้า เนื่องจากเส้นประสาทที่เท้าเกิดความเสียหายและระบบไหลเวียนโลหิตที่เท้าผิดปกติจนอาจเกิดอาการเท้าบวมหรือเป็นแผล ซึ่งควรดูแลสุขภาพเท้าเพื่อป้องกันอาการร้ายแรงโดยล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นเป็นประจำทุกวัน จากนั้นให้เช็ดเบา ๆ จนเท้าแห้ง โดยเฉพาะระหว่างนิ้วเท้าแต่ละนิ้ว ทาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นทั่วเท้ายกเว้นบริเวณร่องระหว่างนิ้วเท้า หมั่นตรวจสอบว่ามีแผลหรืออาการบวมแดงหรือไม่ และไปปรึกษาแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติบริเวณเท้ารวมทั้งอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและไม่หายไป ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานที่เท้า แพทย์อาจให้ใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล เป็นต้น หากแผลเริ่มรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามระดับความรุนแรงของแผลที่เป็น หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลามด้วย
บริษัทนิวเมดิ นำเข้ายาชนิดใหม่ ซึ่งแตกต่างจากยาเบาหวานที่ขายกันโดยทั่วไป ยาเบาหวานชนิดใหม่นี้ เป็นการคิดค้นใหม่ที่สามารถควบคุมเบาหวานได้ดีกว่าชนิดเดิม ด้วยราคามิตรภาพ